เชาเชา หมีน้อยผู้น่ารัก หมาหน้าหมีสุดใจดี ต้องดูแลให้ดี ขี้ร้อน!

เชาเชา หมีน้อยผู้น่ารัก หมาหน้าหมีสุดใจดี ต้องดูแลให้ดี ขี้ร้อน!

เชาเชา เจ้าสุนัขที่มาพร้อมกับหลากหลายฉายา เพราะรูปร่างหน้าตา ดันไปเหมือนสัตว์ตัวอื่นๆ ด้วยความที่หัวฟูใหญ่เหมือนสิงโต หน้าตายังไปคล้ายหมี แถมยังมีนิสัยคล้ายแมวอีกต่างหาก และหลายคนคงคิดว่าเชาเชา เป็นหมานิสัยดุร้าย เลยไม่กล้าเล่นด้วย หรือไม่อยากเลี้ยง เพราะคิดว่าเลี้ยงยาก แต่จริงๆแล้ว เชาเชาเป็นสุนัขที่จิตใจดี หากได้รับการเลี้ยงดู และฝึกเป็นอย่างดี น้องจะเป็นเพื้อนซี้เราเลย วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับเจ้าเชาเชา เจ้าหมานิสัยดี รักครอบครัว

ต้นกำเนิดของ เชาเชา

เชาเชา คือสายพันธุ์ที่โบราณที่สุดของจีน ซึ่งสามารถค้นหาย้อนกลับได้เป็นพันปี บ่อยครั้งที่จะมีคำถามว่าเชาเชา คือสายพันธุ์ที่พัฒนาจากสปิตซ์ หรือ สปิตซ์พัฒนาจากเชาเชา เป็นพันธุ์ที่ทำได้หลายอย่าง ทำได้ทั้งล่าสัตว์ ลากของและดูแลปศุสัตว์ นำขนมาทำเป็นเสื้อคลุมและเอาไปทำเป็นอาหาร เชาเชา เริ่มเข้ามาที่ฝั่งตะวักตกประมาณปลายปี 1800 และเริ่มที่จะขยายพันธุ์ซึ่งทำให้ติด1 ใน 10 ของคลับในอเมริกา สายพันธุ์นี้ไม่ได้ถูกดูแลดีนักในประเทศบ้านเกิดซึ่งพวกเขาถูกกำจัดไปในช่วงยุคของการเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 18 พ่อค้าชาวอังกฤษได้นำสุนัขรูปร่างหน้าตาเหมือนหมี ใส่ไว้ในเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆที่ถูกบรรทุกไว้ภายในเรือนั้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เชาเชา ตั้งแต่นั้นมา เชาเชาก็ได้เป็นชื่อของสุนัขที่พ่อค้านำติดมาด้วย และเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้หมาเชาเชายังได้รับความสนใจจาก Queen Victoria อีกด้วย ทำให้หมาเชาเชาเป็นหมายอดนิยมในอังกฤษในขณะนั้น และมีกสารจัดตั้งกลุ่มหมาเชาเชาของในประเทศอังกฤษ ในปี 1895 สุนัขหน้าหมีนี้ ยังเป็นสุนัขเลี้ยงที่นิยมของเหล่าคนดังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Martha Stewart พิธีกรหญิงชื่อดังในอเมริกา และเชาเชายังได้ปรากฏในทำเนียบขาว ซึ่งเป็นสุนัขของภรรยาประธานธิบดี Calvin Coolidge ในปัจจุบันเชาเชาติดอันดับที่ 65 ในลิสต์  155 หมายอดนิยมของ The American Kennel Club อีกด้วย

เชาเชา

ที่มา https://www.yorapetfoods.in.th/post/chow-chow-breed

นิสัยและพฤติกรรมทั่วไป

ว่าด้วยเรื่องนิสัยของเชาเชาแล้ว เชาเชาจัดเป็นหมาที่นิ่ง สุขุม เยือกเย็น ไม่ชอบยุ่งกับใคร นิสัยคล้ายๆแมว แต่ถึงเชาเชา ไม่ใช่หมาขี้ประจบเอาใจเจ้าของ น้องก็เป็นหมาที่ฉลาดและซื่อสัตย์ และน้องไม่ใช่หมาที่ดุร้ายเลย น้องจะเห่าเฉพาะก็ต่อเมื่อเตือนภัยเท่านั้น น้องจึงเหมาะเป็นหมาเฝ้าบ้าน เชาเชา เป็นสุนัขฉลาดแต่ชอบอิสระและดื้อ ดังนั้นการฝึกพวกเขาจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายเพื่อที่จะให้ชนะในการแข่งขัน พวกเขาต้องมีคนฝึกที่อดทนและมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ค่อยสร้างปัญหาให้เจ้าของปวดหัวซักเท่าไหร่นัก น้องจะชอบเล่นกับคนรู้จัก แต่น้องจะไม่ชอบสุงสิงกับคนแปลกหน้า เราสามารถทำความรู้จักกับน้องได้ โดยการค่อยๆทำความรู้จักค่อยๆ เป็นค่อยๆไป เล่นกับน้องแบบเบาๆ และถ้าอยากให้น้องคุ้นชินกับคนแปลกหน้า เราก็ต้องฝึกน้องตั้งแต่น้องยังเด็กๆเพื่อให้น้องรับมือกับสถานการณ์นี้ได้

วิธีการเลี้ยงและดูแลเชาเชา

เชาเชาเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เพราะนิสัยโดยรวมของน้องแล้ว น้องเป็นหมาชอบความสงบ ไม่ชอบยุ่งกับใคร การได้รู้จักนิสัยของน้องมากขึ้น และวิธีเลี้ยงดูน้องอย่างถูกวิธีก็จะทำให้น้องมีความสุข สุขภาพแข็งแรง

ที่มา https://www.yorapetfoods.in.th/post/chow-chow-breed

วิธีการเลี้ยงดู น้องเชาเชาสามารถอยู่ได้ทุกที่ ตั้งแต่บ้านหลังใหญ่ไปจนถึงห้องอาพาร์ทเมนต์เล็กๆ น้องจะไม่ค่อยชอบอยู่กลางแจ้งมากนัก เพราะน้องไม่ค่อยทนแดด ทนร้อนซักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นควรพาน้องอยู่ในที่ร่มจะดีกว่า โดยเฉพาะวันที่อากาศร้อนมากๆ น้องเชาเชาไม่ใช่แฟนตัวยงเรื่องการอกกำลังกายเหมือนหมาพันธุ์อื่นๆ แต่เราควรจะพาน้องไปออกกำลังกาย แค่นี้ก็ทำให้น้องมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดีได้ เชาเชายังเป็นสุนัขที่ฝึก และเรียนรู้ได้ง่าย แต่ก็มีบางเวลาที่ดื้อบ้าง เพราะเชาเชาชอบกัด แทะของต่างๆ ตอนที่เราไม่อยู่บ้าน เราควรฝึกน้องเรื่องตรงนี้ด้วย และการฝึกน้องให้ทำอะไรก็แล้วแต่ เราไม่ควรใช้ความรุนแรงกับน้อง เพราะเชาเชาเป็นหมาที่รักความอิสระ ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ ถ้าหากเราเตะหรือตีน้อง น้องก็จะยิ่งต่อต้าน และการฝึกน้องตั้งแต่น้องยังเล็กๆจะฝึกง่ายกว่าน้องตอนโต

อาหารของเชาเชา

ปริมาณอาหารที่แนะนำ: อาหารเม็ดปริมาณ ¾ – 1.5 ถ้วยตวง วันละสองมื้อ  และปริมาณอาหารยังขึ้นอยู่กับขนาด, อายุ และกิจกรรมที่ใช้ในแต่ละวัน

เชาเชา

ที่มา https://www.yorapetfoods.in.th/post/chow-chow-breed

วิธีดูแลรักษาเชาเชา การดูแลรักษาความสะอาด

ควรอาบน้ำให้น้องอย่างน้อยเดือนละครั้ง ถ้าวันไหนน้องวิ่งเล่นตัวเปลื้อนโคลน สกปรก ก็ควรอาบน้ำให้น้องทันที ไม่ควรปล่อยให้น้องสกปรก มีกลิ่นเหม็น

การรักษาความสะอาดในช่องปาก ควรแปรงฟันให้น้องอย่างน้อย อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการกำจัดหินปูนและแบคทีเรียในช่องปาก หรือถ้าหากอยากป้องกันโรคเหงือกและกลิ่นปาก การแปรงฟันให้น้องทุกวันก็จะช่วยได้ การตัดแต่งเล็บ ควรตัดเล็บให้น้องเดือนละ 1-2 ครั้ง น้องมีอาการสั่นหัวและเกาหูบ่อยๆ ถ้าน้องมีอาการในลักษณะนี้ไม่ควรให้น้ำหรือน้ำมันสัมผัสในหูของน้อง

การดูแลรักษาขนของเชาเชา

ว่าด้วยเรื่องการดูแลรักษาขนของน้องแล้ว เชาเชาจะมีวิธีแปรงขนที่พิถีพิถันมากกว่าพันธ์ุอื่นๆ แปรงที่ใช้จะมี 3 ลักษณะด้วยกัน คือ

  • – แปรงหวีสเตนเลสแบบ Greyhound comb ซึ่งระยะห่างของหวีเป็นแบบ medium-coarse
  • – แปรงแบบ slicker brush ขนาดกลาง ใช้แปรงขนในส่วนขาของน้อง
  • – หวีแปรงแบบไร้หมุด pin brush ใช้หวีขนยาวๆช่วงลำตัวของเชาเชา ที่สำคัญคือ ห้ามแปรงตอนขนของน้องแห้งเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ขนของน้องหัก เสียทรง อาจมีการใช้สเปรย์บำรุงขนร่วมกับการแปรงขนน้องได้
เชาเชา

ที่มา https://www.yorapetfoods.in.th/post/chow-chow-breed

สุขภาพของเชาเชา

  • เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีปัญหาทางสุขภาพค่อนข้างเยอะ การดูแลเอาใจใส่สุขภาพของมันจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเรื่องที่ต้องระวังเมื่อเลี้ยงเจ้าหมาเชาเชา มีดังนี้
  • – โรคเรื้อนเปียก เกิดจากตัวไรขี้เรื้อนเกาะตามรูขุมขนของเชาเชา ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใบหน้า รอบตา หัว อุ้งเท้า ฝ่าเท้า  และสามารถนำไปสู่โรคผิวหนังอักเสบได้ การรักษาส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องวุ่นวาย เจ้าของสามารถพาไปพบแพทย์เพื่อการรักษาและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้
  • – โรคเปลือกตาม้วนเข้า ม้วนออก ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม โดยจะสังเกตุตั้งแต่ยังเป็นลูกหมายันตอนโต เกิดขึ้นบ่อยกับเชาเชา ซึ่งเป็นสุนัขสายพันธุ์หน้าสั้นซึ่งจะมีขอบตาหนากว่าพันธุ์อื่น ๆ ทำให้ลูกกะตาระคายเคืองจากหนังตาที่ม้วนเข้าไปได้
  • – โรคกระเพาะบิดหมุน เป็นสภาวะอันตรายต่อชีวิตที่เกิดขึ้นได้ หลังจากน้องเชาเชากินอาหารในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้กระเพาะอาหารขยายตัวและบิดหมุนใน 2-3 ชม. ต่อมา ถ้าพบอาการนี้ให้ระบายแก็สออกเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และรีบนำส่งสัตวแพทย์ทันที

เชาเชากับเด็กและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

ถึงแม้ว่า เชาเชาจะเป็นสุนัขที่เงียบๆ ไม่ชอบสุงสิงกับคนแปลกหน้า แต่ถ้าหากน้องเชาเชาโตมากับเด็กเล็กๆ น้องเชาเชาก็จะสามารถเข้ากับเด็กเล็กได้ดี แต่น้องจะไม่ชอบเล่นอะไรก็ตามที่ใช้ความรุนแรง ดังนั้น เชาเชาจะเหมาะกับเด็กโตที่รู้วิธีอยู่กับน้องมากกว่า

Credit By

www.tzsjyba.com

www.reviwecafe.com

www.atikahnorbaki.com

www.viapascher.com

www.karshenascenter.com

www.sildenafiloes.com

www.bakebaker.com

www.mixactivitys.com

Ufabet เว็บหลัก

Credit by : ufabet